กรมทรัพยากรธรณี ซ้อมแผนการเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัย การอพยพประชาชนและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดินถล่มที่จังหวัดระนอง
วันที่ 24 พ.ย.54 นายประสาน วงศ์สวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการฝึกซ้อมแผนการเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัย การอพยพประชาชนและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดินถล่มจังหวัดระนอง ณ โรงเรียนบ้านนา ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีนายฟูยศ โชติคณาทิศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กล่าวรายงาน
การซ้อมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อซักซ้อมการปฏิบัติในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย และการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของราษฎรในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติ ภัย เพื่อทำการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า
อันจะเป็นการบรรเทาความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งมีราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดธรณีพิบัติภัยดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน องค์การบริหารส้นท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดระนอง เข้าร่วมฝึกซ้อมจำนวน 350 คน
ทั้งนี้ ได้มีการจำลองสถานการณ์มีฝนตกหนักต่อเนื่องประมาณ 3 ชั่วโมง วัดปริมาณน้ำฝนได้มากกว่า 200 มิลลิเมตร ได้เกิดดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก มีประชาชนได้รับบาดเจ็บหลายรายหน่วยกู้ชีพกู้ภัยต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บ และอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย เน้นการปฏิบัติทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ ซึ่งในระหว่างฝึกซ้อมได้เกิดฝนตกหนักและลมกระโชกแรงตลอดเวลาทำให้เป็น อุปสรรคในการฝึกซ้อม
นายฟูยศ โชติคณาทิศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาธรณีวิทยา กล่าวว่า การฝึกซ้อมแผนเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้ตระหนักและห่วงใยถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า ในพื้นที่จังหวัดระนอง มีความเสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัยดินถล่ม ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้จัดฝึกอบรมและจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังเตือนธรณี พิบัติภัยจังหวัดระนองในพื้นที่ 5 อำเภอ 18 ตำบล 65 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 470 คน
นายประสาน วงศ์สวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า จังหวัดระนองมีพื้นที่เสี่ยงภัยที่มีโอกาสเกิดดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากใน หลายพื้นที่ สำหรับพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน มีคลองกะเปอร์ และคลองทองหลาง ไหลผ่านหมู่บ้าน สภาพธรณีวิทยาเป็นหินโคลนปนกรวด หินดินดาน และหินทราย ถูกแทรกด้วยหินแกรนิต ทำให้ชั้นดินบางแห่งมีการผุพังอย่างรวดเร็ว มีบ้านเรือนของประชาชนในบางส่วนตั้งที่อยู่อาศัยในหุบเขาแคบ และชิดติดริมน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดดินถล่มขึ้นในพื้นที่
ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2538 และ พ.ศ.2540 พบว่า พื้นที่ตำบลบ้านนาเคยประสบภัยดินไหล และน้ำป่าไหลหลาก ทำให้บ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายบางส่วน และยังพบร่องรอยดินไหลมากกว่า 23 แห่งด้วย ดังนั้น การฝึกซ้อมแจ้งเตือนภัยดินถล่มจะช่วยลดผลกระทบและลดการสูญเสียชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเกิดเหตุการณ์จริงขึ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณกรมทรัพยากรธรณีและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ได้เสียสละ เวลามาฝึกซ้อมแผนในครั้งนี้
วันที่ 24 พ.ย.54 นายประสาน วงศ์สวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการฝึกซ้อมแผนการเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัย การอพยพประชาชนและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดินถล่มจังหวัดระนอง ณ โรงเรียนบ้านนา ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีนายฟูยศ โชติคณาทิศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กล่าวรายงาน
การซ้อมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อซักซ้อมการปฏิบัติในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย และการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของราษฎรในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติ ภัย เพื่อทำการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า
อันจะเป็นการบรรเทาความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งมีราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดธรณีพิบัติภัยดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน องค์การบริหารส้นท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดระนอง เข้าร่วมฝึกซ้อมจำนวน 350 คน
ทั้งนี้ ได้มีการจำลองสถานการณ์มีฝนตกหนักต่อเนื่องประมาณ 3 ชั่วโมง วัดปริมาณน้ำฝนได้มากกว่า 200 มิลลิเมตร ได้เกิดดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก มีประชาชนได้รับบาดเจ็บหลายรายหน่วยกู้ชีพกู้ภัยต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บ และอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย เน้นการปฏิบัติทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ ซึ่งในระหว่างฝึกซ้อมได้เกิดฝนตกหนักและลมกระโชกแรงตลอดเวลาทำให้เป็น อุปสรรคในการฝึกซ้อม
นายฟูยศ โชติคณาทิศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาธรณีวิทยา กล่าวว่า การฝึกซ้อมแผนเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้ตระหนักและห่วงใยถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า ในพื้นที่จังหวัดระนอง มีความเสี่ยงต่อการเกิดธรณีพิบัติภัยดินถล่ม ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้จัดฝึกอบรมและจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังเตือนธรณี พิบัติภัยจังหวัดระนองในพื้นที่ 5 อำเภอ 18 ตำบล 65 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 470 คน
นายประสาน วงศ์สวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า จังหวัดระนองมีพื้นที่เสี่ยงภัยที่มีโอกาสเกิดดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากใน หลายพื้นที่ สำหรับพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน มีคลองกะเปอร์ และคลองทองหลาง ไหลผ่านหมู่บ้าน สภาพธรณีวิทยาเป็นหินโคลนปนกรวด หินดินดาน และหินทราย ถูกแทรกด้วยหินแกรนิต ทำให้ชั้นดินบางแห่งมีการผุพังอย่างรวดเร็ว มีบ้านเรือนของประชาชนในบางส่วนตั้งที่อยู่อาศัยในหุบเขาแคบ และชิดติดริมน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดดินถล่มขึ้นในพื้นที่
ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2538 และ พ.ศ.2540 พบว่า พื้นที่ตำบลบ้านนาเคยประสบภัยดินไหล และน้ำป่าไหลหลาก ทำให้บ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายบางส่วน และยังพบร่องรอยดินไหลมากกว่า 23 แห่งด้วย ดังนั้น การฝึกซ้อมแจ้งเตือนภัยดินถล่มจะช่วยลดผลกระทบและลดการสูญเสียชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเกิดเหตุการณ์จริงขึ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณกรมทรัพยากรธรณีและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ได้เสียสละ เวลามาฝึกซ้อมแผนในครั้งนี้
ข้อมูลจาก...ผู้จัดการออนไลน์